Page Speed คืออะไร?

Page Speed คือความเร็วของหน้าเพจ ซึ่งหนึ่งในเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อประสบการณ์ของผู้ใช้งานและประสิทธิภาพของเว็บไซต์ Page Speed จะวัดจากความเร็วในการแสดงผลข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อความ รูปภาพ วิดีโอต่าง ๆ บนหน้าเว็บไซต์ของคุณ ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นการวัดในหน่วยวินาที

โดย Google มีการใช้ Page Speed ในการจัดอันดับการค้นหา (Ranking) มาตั้งแต่ปี 2018 และได้มีการเพิ่ม ประสบการณ์ร่วมจากผู้ใช้งาน (Page experience signals) และ Core Web Vitals เข้ามาเป็นเกณฑ์ในการวัดในปี 2021 ซึ่งแน่นอนว่า หน้าเว็บไซต์ที่ดาวน์โหลดและแสดงผลออกมาได้อย่างรวดเร็วย่อมสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้ใช้งาน และมีโอกาสติดอันดับบนหน้าผลลัพธ์การค้นหาของ Google ได้

จากการศึกษาล่าสุดแสดงให้เห็นว่า ผู้ใช้งานมีแนวโน้มที่จะออกจากหน้าเว็บไซต์ และไปใช้บริการหน้าเว็บไซต์อื่น ๆ แทน หากเว็บไซต์นั้นใช้เวลาในการดาวน์โหลดมากกว่า 3-4 วินาที ซึ่งนั่นหมายถึงคุณจะเสียลูกค้าและเสียโอกาสในการขายได้ !

ปัจจัยที่มีผลต่อ Page Speed

มีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อ Page Speed แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดได้แก่

1. Hosting

การเลือกผู้ให้บริการเว็บ Hosting ที่เชื่อถือได้เป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อประสิทธิภาพของเว็บไซต์ คุณควรเลือกใช้ Hosting ที่มีโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง มีทรัพยากรที่เพียงพอ และมีการกำหนดค่า Server ที่ดี หาก Server มีการตอบสนองที่ช้า จะมีผลกระทบต่อความเร็วในการดาวน์โหลดบนหน้าเว็บไซต์มาก ดังนั้นคุณควรลงทุนในแผน Hosting ที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และน่าเชื่อถือ

2. รูปภาพ (Images)

รูปภาพเป็นอีกหนึ่งส่วนที่มีความสำคัญต่อการดาวน์โหลดของเว็บไซต์ เรียกได้ว่าเป็นปัญหาสุดคลาสสิคเลยทีเดียว เพราะหากไฟล์รูปภาพมีขนาดใหญ่เกินไป จะทำให้ต้องเสียเวลาในการโหลดที่นานมากขึ้น โดยคุณควรที่จะปรับขนาดภาพให้เหมาะสม บีบอัดไฟล์ภาพโดยไม่ได้ลดทอนคุณภาพของรูปภาพนั้น ๆ เลือกใช้ไฟล์รูปภาพที่เหมาะสม เช่น JPEG, PNG, หรือ WebP มากไปกว่านั้นคุณสามารถใช้เทคนิคการโหลดแบบ Lazy Loading ซึ่งเป็นการเลือกโหลดเฉพาะส่วนที่ผู้ใช้งานกำลังดูอยู่เท่านั้น เมื่อผู้ใช้งานเลื่อนลงจึงค่อยทำการโหลดเนื้อหาในส่วนถัด ๆ ไป ซึ่งจะทำให้เว็บไซต์สามารถแสดงผลได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

3. Caching

ใช้ประโยชน์จากการเก็บ Cache ของ Browser ในการเก็บไฟล์ Static (ไฟล์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อหา)  เช่น CSS, JavaScript, และรูปภาพ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เข้าใช้งานที่เคยเข้าเว็บไซต์ของคุณนั้นสามารถโหลดหน้าเว็บไซต์จาก Cache แทนที่จะส่งคำขอไปยัง Server ทำให้ผู้เข้าใช้งานใช้งานได้รวดเร็วขึ้นในครั้งถัดไป ช่วยปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี

4. การลดขนาดไฟล์ (Minification)

ลดขนาดไฟล์ HTML, CSS, และ JavaScript ของเว็บไซต์ โดยการลบสิ่งที่ไม่จำเป็นออกจาก Code เช่น ตัวอักษรที่ไม่จำเป็น การเว้นวรรค ช่องว่างระหว่างบรรทัด หรือความคิดเห็นที่ไม่จำเป็นออก ขนาดไฟล์จะเล็กลงทำให้การดาวน์โหลดหน้าเว็บไซต์ของคุณรวดเร็วขึ้น

5. Content Delivery Networks (CDNs)

CDN หรือ Content Delivery Network เป็นบริการฝาก Cache ของเว็บไซต์ไว้กับ Server ที่กระจายอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ หลายแห่งทั่วโลก เมื่อผู้ใช้งานเข้าชมเว็บไซต์ของคุณ CDN จะทำการให้บริการเนื้อหาจาก Server ที่ใกล้กับตำแหน่งของพวกเขามากที่สุดโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยลดระยะทางในการรับส่งข้อมูล ลดความล่าช้า และช่วยให้ผู้ใช้งานโหลดหน้าเว็บได้รวดเร็วไม่ว่าจะใช้ในพื้นที่ใดก็ตาม

6. การเพิ่มประสิทธิภาพบนมือถือ (Mobile Optimization)   

เนื่องจากในปัจจุบันจำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์ผ่านมือถือนั้นมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์ให้เหมาะกับอุปกรณ์มือถือจึงเป็นเรื่องจำเป็น โดยคุณควรออกแบบเว็บไซต์ที่ตอบสนองได้ดีบนมือถือ ลดขนาดของทรัพยากรต่าง ๆ และลดขนาดสคริปต์ที่ไม่จำเป็นให้เหลือน้อยที่สุด ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้ใช้งาน ทำให้ดาวน์โหลดเว็บไซต์ผ่านมือถือได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังส่งผลดีต่ออันดับผลลัพธ์การค้นหาของ Search Engine อีกด้วย

สนใจปรึกษาเรา

เริ่มพูดคุยกับเราเพื่อเริ่มต้นโปรเจกต์ของคุณ