Back

Martech Tools ที่สาย SEO ไม่ควรพลาด! Ep.3

Table of Contents

เครื่องมือ Martech Tools ทุกตัวล้วนถูกสร้างมาเพื่อให้เราได้หมั่นปรับปรุงเว็บไซต์ได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้เราได้พูดถึง Martech Tools จาก Google และ Ahrefs ไปแล้ว แต่วันนี้ยังมีอีกหนึ่งเครื่องมือที่สาย SEO ไม่ควรพลาดเช่นกัน บอกได้เลยว่าเป็นเครื่องมือที่นิยมไม่แพ้ Google และ Ahrefs โดยเครื่องมือนั้นมีชื่อว่า “Yoast” ปลั๊กอินที่ดีที่สุดสำหรับการทำ SEO บน WordPress!

ถ้าใครฝันอยากเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO ก็ห้ามพลาดกับเครื่องมือ Yoast ปลั๊กอินสุดเจ๋งที่จะช่วยให้คุณปรับปรุงเว็บไซต์ได้อย่างราบรื่น ว่าแต่เครื่องมือ Yoast คืออะไร มีขั้นตอนการใช้งานอย่างไร ไปดูกันเลย!

Yoast SEO คืออะไร

Yoast SEO คือ ปลั๊กอินบน WordPress ที่จะช่วยปรับแต่งองค์ประกอบสำคัญของโครงสร้างเว็บไซต์ให้ถูกตามหลักของ SEO และเป็นมิตรกับการค้นหาคำของ Google โดยเมื่อเราสร้าง Page หรือเขียนบทความบน WordPress ที่ติดตั้งปลั๊กอิน Yoast เรียบร้อยแล้ว ระบบจะทำหน้าที่เช็คลิสต์โครงสร้างเนื้อหาของเว็บเพจด้วยการแสดงเป็นสัญญาณจุดไฟเขียว ส้ม และแดง พร้อมทั้งให้คำแนะนำว่ามีจุดไหนบ้างที่เรายังต้องแก้ไขและปรับปรุง เพื่อให้ถูกต้องตามหลักของ SEO On-Page

สัญญาณจุดไฟเขียว ส้ม แดง บนปลั๊กอิน Yoast SEO คืออะไร ?

อย่างที่บอกไปว่าปลั๊กอิน Yoast จะตรวจสอบและแสดงจุดไฟ 3 สี ได้แก่ เขียว ส้ม และแดง ซึ่งถ้าหากบทความของคุณมีไฟสีเขียวขึ้นแสดงว่ามีการใช้เทคนิคทำ SEO ดีเยี่ยม ถูกหลักการทำ SEO ตามแบบที่ Google ต้องการ ส่วนถ้าเป็นสีเหลืองแสดงว่าพอใช้ได้ ต้องปรับปรุงอีกหน่อย แต่ถ้าเป็นสีแดงล่ะก็แสดงว่าบทความนี้ต้องปรับปรุงอีกเยอะ เพราะอัลกอริทึ่มของ Google ยังไม่เข้าใจว่าเนื้อหาในบทความของคุณต้องการสื่อสารถึงอะไร หรือสร้างประโยชน์อะไรให้แก่ผู้อ่าน

วิธีติดตั้ง Yoast SEO

1. เข้าไปที่หน้าหลังบ้านของ WordPress > Plugins

2. ค้นหา “Yoast” ใน WordPress Plugin เพื่อ Install

3. เลือก Yoast SEO > Install > Activate

4. ปลั๊กอิน Yoast SEO บน WordPress พร้อมใช้งานแล้วครับ

วิธีใช้งาน Yoast SEO กับ 14 เช็คลิสต์ 

ปลั๊กอิน Yoast จะมีทั้งหมด 14 เช็คลิสต์ด้วยกัน ซึ่งจะมีอะไรบ้าง เราจะสรุปให้ฟัง!

 

  1. Outbound links หรือ External Link คือ การลิงก์ข้อความไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งต้องเป็นเว็บไซต์ที่ Google เห็นว่าเป็นเว็บที่มีความน่าเชื่อถือ เพราะจะช่วยให้ Google มองว่าเว็บไซต์ของคุณก็น่าจะมีความน่าเชื่อถือเช่นเดียวกัน ดังนั้นถ้าหากคุณไม่ใส่ Outbound link สัญญาณไฟก็จะเปลี่ยนเป็นสีแดงนั่นเอง

  1. Internal links คือ การแทรกลิงก์เข้าไปยังข้อความบนบทความของเรา เพื่อให้อัลกอริทั่มของ Google เข้าใจว่าเราเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนี้จริง ๆ อีกทั้งยังช่วยสร้าง Traffic ใหม่ได้อีกด้วย

  1. Keyphrase length คือ การใช้คีย์เวิร์ดในบทความที่มีความยาวพอดี โดยเราต้อง focus keyword ไปที่เรื่องเดียว อย่าพยายามยัดคีย์เวิร์ดทุกอย่างลงไป ไม่อย่างนั้นอัลกอริทึ่มของ Google จะไม่ทราบว่าคุณต้องการโฟกัสที่เรื่องอะไร ส่งผลให้ Google ไม่เข้าใจเนื้อหาของคุณ

  1. Keyphrases in the meta description คือ การใส่คีย์เวิร์ดในส่วนของ Meta description ซึ่งถ้าหากคุณใส่คีย์เวิร์ดอย่างถูกต้อง สัญญาณก็จะแสดงเป็นสีเขียว แต่ถ้าหากคุณลืมใส่คีย์เวิร์ดลงไปใน Meta description สัญญาณก็จะขึ้นเป็นไฟสีแดงนั่นเอง

  1. Meta description length คือ ความยาวข้อความบน Meta description ต้องมีความยาวพอดี โดยไม่น้อยกว่า 120 ตัวอักษร และไม่เกิน 170 ตัวอักษร

  1. Previously used key phrase คือ การใช้ focus keyword ที่แตกต่างไปจากเดิม ไม่เคยถูกใช้มาก่อนในบทความอื่น ๆ บทเว็บไซต์ของคุณ

  1. Text length คือ ความยาวบทความที่ดีควรมีอย่างน้อย 300 คำ แต่ปัญหาคือปลั๊กอิน Yoast ยังนับคำภาษาไทยได้ไม่แม่นยำ เราต้องเขียนคำไทยประมาณ 700 คำ ถึงจะเท่ากับ 300 คำภาษาอังกฤษ 

  1. Keyphrase density คือ การใส่คีย์เวิร์ดในจำนวนที่พอดี ไม่ยัดเยียดคีย์เวิร์ดจนมากเกินไป

  1. Keyphrase in title คือ บทความนี้ต้องใส่คีย์เวิร์ดลงใน SEO Title ด้วย

  1. SEO title width คือ ความยาวของ SEO title ต้องมีความยาวที่พอดี ไม่เกิน 60 ตัวอักษร

  1. Keyphrase in slug คือ ความถูกต้องของคีย์เวิร์ดใน Slug ซึ่งต้องสอดคล้องกับ Keyword ที่คุณเลือกมาใช้

  1. Keyphrase in introduction คือ การใส่คีย์เวิร์ดในบทนำของย่อหน้าแรก ซึ่งเราควรใส่คีย์เวิร์ดในบทนำของย่อหน้าแรกเสมอ เพื่อช่วยให้ Google เข้าใจในบทความของเราได้ง่ายที่สุด

  1. Keyphrase in subheading คือ การวางคีย์เวิร์ดในส่วนของหัวข้อย่อย (H2, H3,H4) ซึ่งถ้าหากคุณวางคีย์เวิร์ดลงในหัวข้อย่อยต่าง ๆ สัญญานไฟก็จะขึ้นเป็นสีเขียว

  1. Image alt attributes คือ การใส่ focus keyword ต่อท้ายรูปภาพหรือเรียกว่า Alt Text แต่ทั้งนี้ก็ไม่ควรใส่ focus keyword ที่ยัดเยียดจนเกินไป ให้กระจาย ๆ ใช้คำเกี่ยวข้องกับคอนเทนต์ เพื่อช่วยทำให้เว็บไซต์ดูน่าเชื่อถือมากที่สุด

 

 

ทั้งหมดนี่คือ 14 เช็คลิสต์จาก Yoast SEO ที่จะช่วยให้บทความของคุณนั้นสมบูรณ์และมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

แต่ก็มีหลายคนสงสัยว่าแล้วจำเป็นไหมที่ต้องโฟกัสกับคะแนนสัญญาณไฟของ Yoast SEO ต้องบอกเลยว่าจริง ๆ แล้วเราไม่จำเป็นต้องโฟกัสให้ Yoast แสดงสัญญาณไฟเขียวทั้งหมด เพราะไม่ได้การันตีว่าถ้าสัญญาณไฟเขียวทั้งหมดแล้วบทความของคุณจะติดอันดับแรก ๆ บน Google หรือถ้าขึ้นสีแดงสักอันแล้วจะไม่ติดหน้าแรก 

 

การดันเว็บไซต์ให้ติดหน้าแรกบน Google นั้นจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเทรนด์ที่เป็นกระแสในช่วงนั้น หรือกฎเกณฑ์ของ Google ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น Yoast SEO จึงถือว่าเป็นตัวช่วยให้ Google เชื่อถือในเว็บไซต์ของเรา และเข้าใจในเนื้อหาที่เราต้องการจะสื่อสารได้ง่ายขึ้นนั่นเองครับ 

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือ Martech Tools

{{CTA="/blog"}}

Blogs Recommended

Back to top