Back

Ecommerce SEO complete guide for beginner

Table of Contents

Key takeaway

  • ควรมีการทำ Technical SEO พร้อม UX / UI ให้ดีเพื่อเป็นการสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า
  • การทำ Keyword Research เป็นสิ่งสำคัญมาก และเป็นพื้นฐานของการทำ Ecommerce SEO ทั้งหมด
  • การทำ On-page SEO เปรียบเสมือนเป็นการจัดหน้าร้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ลูกค้าสามารถหาสินค้าบนเว็บไซต์ของคุณเจอได้อย่างง่ายดาย ช่วยให้ปิดการขายได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น
  • เว็บไซต์ที่ดีควรที่จะสามารถแสดงผลได้ในทุกอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเข้าเว็บไซต์ด้วยมือถือระบบ IOS / Android รุ่นอะไรก็ตามจะต้องใช้งานเว็บไซต์ได้

สำหรับพ่อค้าแม่ค้าทุกคนที่ขายของออนไลน์ จำเป็นที่จะต้องเพิ่มจำนวนคนเข้าหน้าร้านให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหน้าเว็บไซต์ หรือ หน้า Page Social Media ต่าง ๆ เพราะในขณะที่คุณทำการตลาดให้กับธุรกิจของคุณอยู่นั้น กลุ่มเป้าหมายของคุณอาจกำลังทำการค้นหาข้อมูลสินค้าที่คุณขายอยู่ก็เป็นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้นหาผ่าน Search Engine ยอดนิยมอย่าง Google

และหากคุณต้องการให้ธุรกิจของคุณถูกพบเป็นอันดับแรก ๆ บน Google แล้วหล่ะก็ คุณจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับสิ่งที่เรียกว่า “Ecommerce SEO”

Ecommerce SEO คืออะไร

การทำ Ecommerce SEO คือวิธีการที่ทำให้เว็บไซต์ธุรกิจของคุณสามารถแสดงผลในหน้า SERP หรือหน้าผลลัพธ์การค้นหาของ Google ได้เมื่อมีคนค้นหาเกี่ยวกับสินค้าของคุณ ซึ่งเว็บไซต์ไหนที่มีการ Optimize สำหรับ SEO มาแล้ว ก็จะสามารถแสดงผลอยู่ในหน้าแรก ๆ ได้ และส่งผลให้มีคนเข้าหน้าร้านออนไลน์มากขึ้นนั่นเอง

จากสถิติอ้างอิงจากเว็บ Findstack พบว่า กว่า 60% ของกลุ่มเป้าหมายทำการเสิร์ชค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ Brand ก่อนตัดสินใจซื้อ ซึ่งหากเว็บไซต์ของคุณได้มีการปรับปรุงคุณภาพเพื่อรองรับการค้นหาของกลุ่มเป้าหมายไว้ เท่ากับคุณจะมีโอกาสที่จะปิดการขายได้มากขึ้นนั่นเองครับ

ในการทำ SEO สำหรับ E-commerce นั้น ไม่ได้แตกต่างจากการทำ SEO ปกติมากนัก เพียงแต่คุณอาจจะต้องเน้นใช้ Keyword ที่แตกต่างออกไป และเน้นการโปรโมตสรรพคุณและข้อดีของสินค้าเป็นหลัก ทั้งในส่วน Meta Tag และ On-page SEO 

การทำ Ecommerce SEO มีวิธีการอย่างไร

1. ควรมีการทำ Technical SEO ให้พร้อมก่อน

ก่อนที่จะเริ่มขายของไม่ว่าจะเป็นการขายแบบออฟไลน์หรือการเปิดหน้าร้านออนไลน์ก็ตาม สิ่งแรกที่คุณควรทำก่อนคือ การจัดหน้าร้าน

การจัดหน้าร้านในที่นี้หมายถึง การปรับเว็บไซต์ให้ใช้งานได้ง่าย มี UX ในการใช้งานที่ดี มี UI ที่สวยงาม และที่สำคัญที่สุดควรทำให้เว็บไซต์โหลดเร็วที่สุด

การทำเว็บไซต์ Ecommerce นั้น คุณจะต้องมีการใส่รายละเอียดสินค้าเข้าไปเยอะ ๆ เช่น รูปภาพสินค้าในหลาย ๆ มุม และข้อมูลสินค้าหรือ Product Spec ซึ่งไม่ว่าจะขายอะไรก็ตาม ข้อมูลเหล่านี้ควรใส่ให้ครบทั้งหมด

ดังนั้นการทำเว็บไซต์ให้โหลดข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็ว จะช่วยป้องกันไม่ให้กลุ่มเป้าหมายของคุณเข้าเว็บไซต์มาแล้วต้องรอนาน ซึ่งจาก Behaviour Research ของ Google โดยปกติแล้วกลุ่มคนที่ซื้อของออนไลน์จะไม่ค่อยชอบรอ ดังนั้นควรปรับปรุงเว็บไซต์ให้โหลดข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีข้อมูลครบถ้วนที่สุดครับ

นอกจากนี้การทำ Technical SEO ที่ดีจะเกี่ยวข้องกับ Code ที่ใช้บนเว็บไซต์ด้วย ไม่ว่าจะเป็นระบบที่ใช้งาน, ภาษาที่เขียน, จนไปถึง URL ที่ตั้ง ซึ่งทั้งหมดนี้จะถูกตรวจโดย Google Bot ทั้งหมด ดังนั้นคุณควรวางรากฐานเว็บไซต์ Ecommerce ของคุณให้ดีตั้งแต่ต้น เพื่อที่จะได้ไม่ต้องแก้ไขปัญหาในภายหลัง

2. การทำ Keyword Research

การทำ Ecommerce SEO จำเป็นที่จะต้องผ่านการทำ Keyword Research ก่อนทุกครั้งโดยเฉพาะหน้าสินค้าในเว็บไซต์ของคุณ

การทำรีเสิร์ชและหาข้อมูลจะทำให้คุณรู้ว่า คำไหนที่ผู้คนมักใช้ค้นหาเกี่ยวกับสินค้าของคุณมากที่สุด (Keyword ไหนมี Demand หรือมีคนสนใจมากที่สุดในขณะนั้น) หลังจากนั้นคุณจะต้องนำคำเหล่านี้มาใส่ไว้ในเว็บไซต์ของคุณในตำแหน่งต่าง ๆ ตามหลักการทำ SEO เพื่อให้ Google เข้าใจเว็บไซต์ของคุณและนำหน้าสินค้าของคุณขึ้นไปแสดงบน SERP ในตำแหน่งที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

seo keyword research
ตัวอย่าง keyword research

นอกจากนี้คุณยังสามารถค้นหาคำที่น่าสนใจจากคู่แข่งของคุณได้เช่นกัน ว่าสินค้าของคู่แข่งคุณนั้นติดหน้าแรกของ Google ด้วย Keyword คำไหน โดยคุณสามารถใช้เครื่องมืออย่าง SEMrush หรือ ubersuggest ในการหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการตัดสินใจของคุณได้อีกด้วย

3. การทำ SEO On-page

การทำ On-page SEO จะช่วยให้ Search Engine เข้าใจว่าเว็บไซต์ของคุณนั้นเกี่ยวข้องกับอะไร โดย Element ที่คุณใส่ไปนั้นจะเกี่ยวข้องกับ Keyword ในข้อสองทั้งหมด ดังนั้นก่อนทำ On-page SEO ควรทำ Keyword Research ก่อนทุกครั้งนะครับ

3.1 ตั้ง Meta Title ให้กระชับ

Meta Title คือ Heading หรือหัวข้อที่อธิบายถึงสินค้าของคุณ โดยมีข้อแนะนำว่า Meta Title ไม่ควรมีเกิน 65 ตัวอักษร (อ้างอิงจาก Ahrefs) ดังนั้นควรมีการสรุปเนื้อหาและสิ่งที่ต้องการจะบอกลูกค้าให้ดีก่อนที่จะนำไปใส่

จากตัวอย่างในรูปด้านล่างจะเป้นการยกตัวอย่าง Meta Title ที่ได้ทำการสรุปให้กระชับมาแล้วเพื่อเป็นแนวทางครับ

meta title

3.2 เขียน Meta Description ให้ละเอียด

มอง Meta Description ให้เหมือนกับย่อหน้าหนึ่งในบทความครับ คุณสามารถนำส่วนนี้มาขยายความสิ่งที่คุณเขียนใน Meta Title ได้ โดยการเขียน Meta Description เข้าไปนั้นจะช่วยให้ผู้ที่กำลังสนใจสินค้าของคุณ เข้าใจมากยิ่งขึ้นว่าสินค้าของคุณนั้นตรงกับสิ่งที่พวกเขากำลังค้นหาอยู่หรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามอย่าลืมใส่ Keyword ของคุณลงไปในนี้ด้วยนะครับ

ตัวอย่างการเขียน Meta Description อยู่ด้านล่างครับ

meta description

3.3 ตั้ง URL Structure ให้เข้าใจง่าย

การตั้ง URL Structure หรือ Slug เปรียบได้กับการตั้งหมวดหมู่ให้กับสินค้าและการเป็นการเลือก Shelf ที่จะนำสินค้าไปลงครับ วิธีที่ง่ายที่สุดในการตั้ง Slug คือทำให้ Simple เข้าใจได้ง่าย และมี Keyword อยู่ในนั้น พร้อมกับการทำ Hypernate ในกรณีที่มี Space ระหว่างคำครับ

นอกจากนี้ หากมีสินค้าหลายหมวดหมู่ควรเติมหมวดหมู่ลงไปใน URL ด้วย ซึ่ง Slug หมวดหมู่จะช่วยให้ Search Engine เข้าใจโครงสร้างของเว็บไซต์มากขึ้นอีกด้วยครับ

ตัวอย่าง

https://www.bepgroup.space/blog/structure-search-campaign  - เป็นบทความที่อยู่ใต้หมวดหมู่ Blog

https://www.bepgroup.space/work/michikoclinic - เป็น Testimonial เกี่ยวกับงานที่ทำมา

3.4 Product Description

การทำ Product Description จะอธิบายให้ผู้ที่กำลังใช้งานเว็บไซต์เข้าใจมากขึ้นว่า สินค้ามีสรรพคุณและข้อดีอย่างไร นอกจากนี้คุณสามารถใส่ Keyword ที่คุณทำการรีเสิร์ชมาเข้าไปได้อีกด้วย และหากคุณมีการทำ Google Ads อยู่ การทำส่วนนี้จะช่วยเพิ่ม Quality Score และทำให้ CPC ราคาถูกลงอีกด้วยครับ

3.5 ทำให้ Google เข้าใจเว็บไซต์ด้วย Img Alt Tag

ทุกเว็บไซต์ Ecommerce ควรใช้รูปที่มีคุณภาพสูง แสดงให้เห็นถึง Product ชัด ๆ ซึ่งจะช่วยให้เพิ่มจำนวนคนเข้าเว็บไซต์ได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งรูปภาพที่คุณใส่เข้าไปพร้อมกับ Keyword จะยิ่งช่วยเสริมให้ Bot เข้าใจสินค้าของคุณมากขึ้นและยังเพิ่มโอกาสให้สินค้าของคุณโชว์ใน Image search ได้อีกด้วย

ยกตัวอย่างเช่น เว็บไซต์คลีนิกที่มีการทำ Img Alt Tag ให้กับคุณหมอ ทำให้ภาพของคุณหมอที่อยู่ในเว็บไซต์นั้นแสดงผลลัพธ์ได้ในหน้า Image search

img alt tag

4. Backlink

Backlink หรือการทำ Off-page SEO นั้น มีความสำคัญไม่แพ้การทำ On-page SEO เพราะการทำ Backlink ที่มีคุณภาพจะช่วยเสริมเรื่องคุณภาพของเว็บไซต์ (Domain Authoritative) และหากคุณได้ลิ้งก์ที่มีคุณภาพและเกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการของคุณจะช่วยให้ SEO Campaign ของคุณนั้นดียิ่งขึ้นไปอีก

คุณสามารถเริ่มการทำ Link Building ได้ง่าย ๆ จากการนำเว็บไซต์ไปลงใน Listing หรือ Directory ของเว็บไซต์ต่าง ๆ พร้อมกับการแนบลิ้งก์ที่สามารถคลิกกลับมาที่เว็บไซต์ของคุณได้ โดยการทำแบบนี้มักจะลงได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายครับ

อีกวิธีหนึ่งคือ การติดต่อเว็บสำนักข่าวและนำบทความโปรโมตธุรกิจของคุณไปลงในสำนักข่าวนั้น ๆ โดยวิธีนี้อาจมีค่าใช้จ่ายซึ่งจะราคาไม่เท่ากันในแต่ละเว็บ แต่สิ่งที่คุณมั่นใจได้คือ คุณจะได้ลิ้งก์คุณภาพกลับมาที่เว็บไซต์ของคุณอย่างแน่นอน

หรือคุณสามารถทำการ Collaboration กับ Influencer ในตลาด และให้พวกเขา Mention ถึงเว็บไซต์ของคุณ ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยเสริมลิ้งก์คุณภาพได้ครับ

5. การปรับเว็บไซต์ให้ใช้ได้ดีสำหรับมือถือ

การทำ Ecommerce ให้ใช้งานง่ายบนมือถือนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ๆ ในปัจจุบัน เพราะเกินครึ่งของการเข้าเว็บไซต์ส่วนใหญ่มาจากมือถือ ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการค้นหาข้อมูลก่อนตัดสินใจนั่นเอง

การทำเว็บไซต์ให้ Responsive แสดงผลได้สำหรับทุกอุปกรณ์นั้น หมายความว่ากลุ่มลูกค้าของคุณจะสามารถเข้าเว็บไซต์คุณได้จากมือถือรุ่นใดก็ได้ และแน่นอนว่า การตั้งค่าปุ่ม รูปภาพ และข้อความของคุณจะต้องแสดงผลได้สำหรับทุกอุปกรณ์ หากคุณมีการปรับ Responsive แล้ว เว็บไซต์ของคุณจะพร้อมปิดการขาย ไม่ว่าจะมีลูกค้าเข้ามาจากมือถือรุ่นอะไรก็ตามนั่นเองครับ

สรุปการทำ Ecommerce SEO

หากคุณพูดถึงการทำ SEO โดยทั่วไปจะเปรียบเสมือนการจัดหน้าร้านของคุณให้สวยงาม ใช้งานง่าย และเข้าใจได้ง่าย เพื่อสร้างความประทับใจให้กับคนที่เข้ามาเยี่ยมชมร้านค้าของคุณ นอกจากนี้คุณยังสามารถนำเสนอข้อมูลที่มีคุณภาพให้กับกลุ่มลูกค้าของคุณ ด้วยเทคนิคเบื้องต้นที่กล่าวมา หากคุณลองนำไปประยุกต์ใช้งานดูผมเชื่อว่า คุณน่าจะเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของจำนวนคนเข้าเว็บไซต์อย่างแน่นอนครับ

Blogs Recommended

Back to top